เที่ยวงานใส่ขันดอก บูชาเสาอินทขิล วันเจดีย์หลวง เชียงใหม่

in history •  6 years ago 

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว steemit ทุกท่านค่ะ ในช่วงเดือนพฤษภาคมเข้าฤดูฝนของเชียงใหม่ ในทุกๆ ปี จะมีประเพณีใส่ขันดอก บูชาเสาอินทขิล (เสาอินทขิล หมายถึง เสาหลักเมือง) ซึ่งจัดขึ้น ในวันที่ 11-17 เพื่อให้ประชาชนชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยว ได้มาร่วมทำบุญใส่ขันดอก เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและบ้านเมือง รวมทั้งอนุรักษ์ประเพณีให้มีอยู่ต่อไปค่ะ

ประวัติความเป็นมาของประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล

  • เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภ่คม จนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี ทางความเชื่อของคนเชียงใหม่โบราณ ได้มีการจัดงานประเพณีใส่ขันดอก อินทขิล หรือ ประเพณีเข้าเดือนแปดเดือนเก้าออก( ที่เรียกว่าเข้าเดือน 8 ออกเดือน 9 นั้น นับโดยประฏิทินล้านนนา) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดสำคัญ เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ในอดีต
  • เสาอินทขิล สร้างคั้งแรกทำด้วยหิน และสร้างครั้งที่สอง ทำด้วยอิฐก่อโบกปูน จนมาถึงปัจจุบันและมีการติดลวดลายกระจกสี หลักเมืองนั้นเป็นเหมือนหลักชัยแห่งเมือง การสร้างหลักเมืองขึ้นมาเพื่อเป็นการยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในบ้านเมืองนั้นๆ ให้เกิดพลังความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพลเมือง
  • เมื่อนานเข้า ผู้คนกลับไม่รักษาคำสัตษ์ ไม่ทำการเซ่นไหว้ และทำการดูหมิ่น ต่างๆ นาๆ กุมภัณฑ์จึงนำเสาอินทขิลกลับไป ต่อมามีผู้เฒ่าลัวะคนหนึ่งที่เคยมากราบไหว้เสาอินทรขิลประจำ มาถึงและไม่เห็นเสาอินทรขิลเกิดทุกข์ร้อนและกลัวว่าจะเกิดเหตุเภตภัยต่อบ้านเมือง จึงละเพศจากฆราวาส ถือเพศตาปะขาวและรักษาศีลบำเพ็ญภาวนา อยู่บริเวณที่เคยตั้งเสาอินทขิล เป็นเวลา 3 ปี ขณะนั้นได้มีพระเถวระรูปหนึ่ง ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ในป่า จนบรรลุญาณสมาบัติ และมีญาณหยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ได้มาบอกตาปะขาวว่า บ้านเมืองจะถูกรุกย่ำยีจนล่ม เพราะไม่มีเสาหลักเมืองให้ผู้คนได้ยึดเหนี่ยวกราบไหว้บูชา อันเป็นที่มาความสามัคคีของผู้คน ตาปะขาวจึงปรึกษากับชาวเมือง และตกลงกันว่า ขอให้พระเถระเป็นสื่อติดต่อเสาอินทขิลจากอินทร์มาให้อีก
    32231725_209853622952476_8342689194673438720_n.jpg

32222630_209853496285822_7312708801042317312_n.jpg

ความสำคัญประเพณีใส่ขันดอกบาเสาอินทขิล

  • เดิมเสาอินทขิลประดิษฐานอยู่ที่ ณ วัดสะดือเมือง หรือวัดอิทขิลกลางเวียงเชียงใหม่ ตามตำนานกล่าวว่า เสาอินทขิลเดิมนั้นหล่อด้วยโหะ จนกระทั่งสมัยพระเจ้ากาวิละ ราวปี 2343 ได้ย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณประฏิสังขารเป็นเสาปูนปั้นติดกระจกสี บนเสาเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปร่างรำพึง และทำพิธีบวงสรวงสืบกันมา
  • โดยมีความเชื่อว่า การบูชาเสาอินทขิลจะนำมาซึ่งความมั่นคง มั่งคั่ง ข้าวปลาอาหารสมบุรณ์หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวเมือง และเกษตรให้ทำมาหาเลี้ยงชีพ และทำการเกษรเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ดังนั้น ในประเพณีบูชาเสาอินทขิลจึงได้มีการอันเชิญพระเจ้าฝนเสน่หา อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์บัลดาลให้เกิดฝนตก แห่ไปรอบเมืองเชียงใหม่ และนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเจดีย์หลวงเพื่อให้ประชาชนได้สักการะ และสรงน้ำพระมหาหมื่นวุฑฒิญาโณ วัดหอธรรมเชียงใหม่
    31600673_209853726285799_6638170254331609088_n.jpg

32260521_209853609619144_6226534657333133312_n.jpg

32239526_209853629619142_8846952465854103552_n.jpg

พิธกรรมในประเพณีบูชาเสาอินทขิล

1.พิธีบูชาเสาอินทขิล
  • พิธีนี้กระทำโดยการจุดธูปเทียน บูชาอินทขิล กับรูปกุมภัณฑ์ และฤาษี ทั้งนี้เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุขร่มเย็น ช่วงเวลาสำหรับทำพิธีบูชาเสาอินทขิล คือช่วงปลายเดือน 8 ต่อด้วยต้นเดือน 9 วิหารอินทขิล การบูชาอินทขิล เครื่องบูชามี ข้าวตอกดอกไม้ เทียน 8 สวย พลู 8 สวย ดอกไม้เงิน 1 ผ้าขาว 1 รำ ช่อขาว 8 ผืน มะพร้าว 2 คะแนง กล้วย 2 หวี อ้อย 2 เล่ม ข้าว 4 กวัก (กระทง) แกงส้ม แกงหวานอย่างละ 4 โภชนะอาหาร 7 อย่าง ใส่ขัยบูชา
2. พิธีใส่ขันดอก
  • เป็นพิธีกระทำต่อ จากการจุดธุดธูปเทียนบูชาอินทขิล ทางวัดจะเตรียมพานเรียงไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนนำดอกไม้ ที่ตนเตรียมมาไปวางในพานจนครบ เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ การถวายดอกไม้เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อเสาอินทขิล กุมภัณฑ์ ฤาษี และพระรัตนตรัย
3.การใส่พระประจำวันเกิด
4.พิธีสรงน้ำพระเจ้าฝนเสน่หา

สำหรับโพสนี้เบนขอจบแต่เพียงเท่านี้ค่ะ
ขอบคุณสำหรับโหวต ติดตามค่ะ
Thank you.

Authors get paid when people like you upvote their post.
If you enjoyed what you read here, create your account today and start earning FREE STEEM!
Sort Order:  

สวัสดีค่ะคุณเบน ไม่ได้มาทักทายกันหลายวัน สบายดีนะคะ😊

สบายดีค่ะ แล้วคุณแคทล่ะคะเป็นยังไงบ้าง สบายดีหรือป่าว

พึ่งจะเคยได้ยินค่ะ

เป็นประเพณีที่คนเชียงใหม่ทำกันทุกปีค่ะ 😊

เป็นวัดที่สวยมากเลยครับ..น่าไปถ่ายรูปมากครับ📷

วัดชื่อวัดเจดีย์หลวงค่ะ วัดมีขนาดกว้างขวาง สวยงามด้วยค่ะ