รู้จัก Loom Network, โปรเจคบนบล็อคเชนที่ไม่มี Whitepaper แม้แต่หน้าเดียว

in thai •  7 years ago  (edited)
  • ทีมงานไม่เขียน Whitepaper เพื่อขอระดมทุนเหมือนกับ ICO อื่นๆทั่วไป
  • ทีมงานเลือกที่จะสร้างแอปพลิเคชั่นเล็กๆที่ใช้งานจริงให้ได้เร็วที่สุด
  • จากนั้นพัฒนาต่อไปตามเสียงตอบรับของผู้ใช้งาน
  • เปรียบเทียบกับกรุงปารีส มีผังเมืองที่ยุ่งเหยิง แต่กลับมีผู้อยู่อาศัยมากที่สุด
  • เนื่องมาจากการพัฒนาตามสิ่งที่ผู้อยู่อาศัยต้องการจริงๆ
  • ตลอดระยะเวลา 6 เดือน มีแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานได้แล้ว 3 ชิ้น
  • กระบวนการทั้งหมดนี้ ไม่มี Whitepaper แม้แต่หน้าเดียว
  • กระบวนการพัฒนาแบบ Decentralize หรือ การกระจายอำนาจ ยังอยู่ในยุคเริ่มต้น ชุมชนผู้ใช้งานที่ดีจะส่งผลให้โลก Decentralize เป็นโลกที่ปราศจากผู้กุมอำนาจตัวกลางอย่างแท้จริง

Loom Logo
ภาพจาก: loomx.io

ตั้งแต่ Bitcoin ถือกำเนิดขึ้นมานับทศวรรษ ทุกๆโปรเจคที่พัฒนาขึ้นบนบล็อกเชนนั้นใช้เอกสารตีพิมพ์ที่เรียกว่า "Whitepaper" เพื่อบอกว่าทีมจะทำโปรเจคเกี่ยวกับอะไร เพื่อขอระดมทุนกับนักลงทุนผู้สนใจในบล็อกเชน

ปัญหาคือ Whitepaper ส่วนใหญ่นั้นเชื่อไม่ได้ พวกเขาหาช่องโหว่ในสภาวะตลาดที่มีแต่นักลงทุนที่หวังเก็งกำไรระยะสั้นกับ ICO, พวกเขาเขียน Whitepaper แบบโฆษณาเกินจริงเพื่อหลอกลวงนักลงทุนให้ยอมลงทุนด้วย ที่น่าตกใจคือ โปรเจคลมเหล่านี้ได้เงินลงทุนไปหลายสิบล้านดอลลาร์

หากจะเปรียบเทียบ, การอ่าน Crypto Whitepaper เป็นเหมือนการได้ฟังเรื่องราวดีๆแล้วรู้สึกดีแบบไม่มีเหตุผล ทุกอย่างในนั้นดูดีไปหมด

คุณคงเคยเจอโปรเจคที่มี Whitepaper สวยหรู แต่ไม่มีผลงานที่ใช้งานได้จริง มันเหมือนกับบริษัท Startup หน้าใหม่ที่ไม่มีลูกค้าเป็นของตัวเองเลย แต่เขียนแผนธุรกิจล่วงหน้าไปเป็นปีๆ ไม่มีทางที่นักลงทุนจะรู้ว่าสุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์นั้นจะทำได้จริงเหมือนที่กล่าวไว้ใน Whitepaper หรือไม่ ก็มันยังไม่เคยลองตลาดจริงเลยนี่ ใช่ไหมล่ะ

แต่ทีมงาน Loom Network นั้นแตกต่าง แทนที่จะวุ่นวายกับการเขียน Whitepaper, ทีมเลือกที่จะเขียนโค้ดและออกแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานได้จริงให้เร็วที่สุด

ทีมเชื่อว่า ไม่มีทางที่คนเราจะมีนิมิตวิเศษมองเห็นและเข้าใจไอเดียโปรเจคนั้นทุกอย่างในวันแรกที่คิดออก ทางที่ดีที่สุดคือ สร้างผลิตภัณฑ์เล็กๆที่ใช้งานจริงให้ได้เร็วที่สุด แล้วพัฒนาต่อไปตาม feedback ที่ได้รับ

ตัวอย่างในโลกแห่งความจริง

*ลองดูผังของมหานครอย่างปารีส, ดูยุ่งเหยิง, ขาดการจัดการ, ไม่เป็นระเบียบ ใช่ไหมล่ะ

Paris Map
ภาพจาก: atlantislsc.com

ทีนี้ลองดูเมืองบราซีเลีย เมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศบราซิล ทุกอย่างดูทันสมัย, เป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี

Brasilia Map
ภาพจาก: mapsland.com

ในด้านของการออกแบบ แน่นอนว่าบราซีเลียนั้นดูดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด แล้วถ้าต้องเลือกว่าจะอยู่เมืองไหน ลองมาฟังข้อมูลเหล่านี้ดู

  • "ใจกลางเมืองนั้นเงียบเหงาไร้ชีวิตชีวา มีนกพิราบมากกว่าผู้คนเสียอีก" -ชาวเมืองบราซีเลียผู้หนึ่งกล่าว

จากมุมมองนักออกแบบ มันควรจะได้ผลตอบรับดีกว่านี้ แต่ในความเป็นจริงมันกลับไม่ได้รับความนิยมและออกจะแย่เสียด้วยซ้ำ ก็เหมือนกับเครือข่ายบล็อกเชนนั่นแหละ, เมืองที่ผู้คนอยากอาศัยมากที่สุดนั้นพัฒนาขึ้นมาแบบ "bottom-up" คือเริ่มจากสิ่งเล็กๆที่มีผู้ใช้งานจริงๆก่อน แล้วค่อยขยับขยายออกไปอย่างมั่นคง ไม่เหมือนบราซีเลียที่สร้างแบบ "top-down" โดยเริ่มจากการออกแบบผังเมือง ผู้คนมักเลือกเมืองที่มีคนอยากจะอาศัยอยู่จริงๆ มากกว่าจากสิ่งที่เห็นบนแผนที่ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ปารีสเติบโตและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน

เมืองบราซีเลีย เกิดจากการวางแผนแบบ "Centralize(อำนาจจากส่วนกลาง)" ที่เป็นการพัฒนาเมือง top-down
ในกรณีของกรุงปารีส, เกิดจากความต้องการแท้จริงของผู้อยู่อาศัย เป็นพัฒนาเมืองแบบ bottom-up

Loom Network กำลังสร้างแอปพลิเคชั่นในโมเดลของกรุงปารีส

ทีมเชื่อว่าระบบที่ทำงานอันซับซ้อนและเติบโตได้อย่างมั่นคงต้องเริ่มจากระบบเล็กๆที่ทำงานได้อย่างมีสเถียรภาพก่อนแล้วค่อยพัฒนาเป็ระบบใหญ่ๆ แทนที่จะพยายามสร้างแอปพลิเคชั่นให้สมบูรณ์แบบในครั้งเดียว ทีมเลือกที่จะสร้างสิ่งง่ายๆที่ใช้งานได้จริง แล้วพัฒนาต่อยอดไปตามข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริง

หากจะยกตัวอย่างสิ่งที่พัฒนาจากข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริง ต้องดูการสร้างทางเดินตัดสนามหญ้าของ Oregon State University, คณาจารย์เลือกที่สร้างทางเดินตามรอยหญ้าที่นักศึกษาเดินเหยียบ แทนที่จะลงมติกำหนดเอาเองว่านักศึกษาควรเดินเท้าไปทางไหน

Derek Sivers - Oregon State University Walkways
ภาพจาก: sivers.org

  • ระบบที่เป็น Centralize จะพยายามมองหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการแบบ top-down
  • แต่ระบบที่เป็น Decentralize จะมองหาระบบที่มีการเติบโตที่แท้จริง โดยใช้กระบวนการแบบ bottom-up

หากจะบอกว่าระบบ Decentralize ที่ใช้โมเดลการพัฒนาแบบ bottom-up นั้นพัฒนาตามความต้องการของชุมชนผู้ใช้งานคงไม่ผิดนัก

บทส่งท้าย

ตลอดระยะเวลา 6 เดือนของโปรเจค ทีมงานได้สร้างแอปฯขึ้นมา 3 ตัว คือ

  • CryptoZombies - เว็บสอนสร้างเกมบนบล็อกเชน
  • DelegateCall - กระดานถาม-ตอบบนบล็อกเชน
  • EthFiddle - คล้ายๆกับเว็บทดสอบสคริปชื่อดังอย่าง JSFiddle

ซึ่งทั้งหมดที่ทำมานี้ ไม่มีกระบวนการ Research & Develop หรือ Whitepaper แม้แต่หน้าเดียว ทีมทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นอย่างเดียว และเป็นการพิสูจน์สมมติฐานของทีมในโลกแห่งความจริงอีกด้วย

จากผู้เขียน

  • หากมองย้อนกลับไปในยุคแรกเริ่มของ Internet, ผู้คิดค้นนั้นต้องการโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน หากแต่ความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลส่วนใหญ่กลับอยู่ใน server ของบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่บริษัท และบริษัทเหล่านี้อาจแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่ในมือเมื่อไหร่ก็ได้ (ดังเช่นกรณีของ Facebook กับ Cambridge Analytica)
  • ในโลกของ Decentralize (aka. การกระจายอำนาจ) การพัฒนาทุกอย่างถูกขับเคลื่อนโดยชุมชนผู้ใช้งานโดยแท้จริง ผลผลิตที่ออกสู่โลกบล็อกเชนนั้น ล้วนเป็นไปตามความต้องการของชุมชนทั้งสิ้น
  • เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของยุค Decentralize, ผู้ที่เชื่อในระบบกระจายอำนาจ ไม่ต้องการตัวกลางมาคอยควบคุม มีหน้าที่สร้างผลผลิต ที่ออกมาจากชุมชนให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง

ที่มา:
Loom Network, Where’s Your Whitepaper?
Why the 'Worst' Crypto Networks Will Be The Biggest


ชอบบทความ โหวตให้กำลังใจได้ครับ สมัครที่นี่
หรือ สมัครไม่ได้ วิธีสมัคร Steemit

Authors get paid when people like you upvote their post.
If you enjoyed what you read here, create your account today and start earning FREE STEEM!
Sort Order:  

มี loom อยู่ในพอร์ตเรียบร้อย ลุ้นกันไปสนุกๆครับตัวนี้ อินดี้ดี ผมชอบครับ 😁

ว่าจะกวาดเก็บไว้เหมือนกันครับ เป็นแพลตฟอร์ม dApp ที่เกี่ยวกับเกมตัวแรกในตลาด ถือว่าเริ่มต้นได้ดีทีเดียว