- โชว์เลย ไม่ต้องเล่า
จากผลการสำรวจพบว่า 77% ปฏิเสธการอ่านข้อมูลข่าวสารที่มีแต่ตัวอักษร โดยจะ “เลือกอ่านเฉพาะที่มีรูปภาพประกอบ” มากกว่า พวกเขาให้เหตุผลว่า เรื่องราวจะดูน่าสนใจขึ้นมาทันทีเมื่อมีรูปภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นด้วย
- ข้อมูลเข้าใจง่าย
ผู้ตอบแบบสำรวจถึง 79% บอกว่า เขาอ่านข้อมูลข่าวสารที่เห็นแบบผ่านๆ ไม่ได้อ่านแบบคำต่อคำ การอารัมภบทมากมายจึงไม่จำเป็นสำหรับการสื่อสารกับคนกลุ่มนี้ เพราะนอกจากจะทำให้เขาได้รับข้อมูลจากเราไม่ครบถ้วนแล้ว ยังสร้างความรำคาญใจ ทำให้เลิกอ่านข้อมูลของเราก่อนที่จะจบเรื่องซะด้วยซ้ำ ดังนั้นการเขียนเนื้อหาควรต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ “สั้น ง่าย ได้ใจความ”
เราจะสังเกตได้ว่าปัจจุบันนี้ผู้ผลิตสื่อและข้อมูลข่าวสารนิยมหันมาใช้เทคนิค “การให้ภาพเล่าเรื่อง” หรือที่ทุกคนรู้จักกันว่า Infographicซึ่งเป็นการอธิบายข้อมูลต่างๆภายในภาพเดียวเท่านั้น ผู้อ่านจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้ง่ายๆ และสามารถ save ภาพนั้นเก็บไว้อ่านในเวลาที่ว่างได้เช่นกัน
- หัวข้อต้องดึงดูด
มีคำคมนึงกล่าวว่า “อย่าตัดสินหนังสือที่หน้าปก” แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงตัดสินหนังสือจากหน้าปกอยู่ดีนั่นแหละ ซึ่งความจริงแล้วหัวข้อก็เปรียบเสมือนหน้าปกของข้อมูลที่เราจะนำเสนอ เพราะหัวข้อเป็นสิ่งแรกที่ผู้อ่านเห็น ฉะนั้นหน้าที่สำคัญของมันก็คือ “ต้องดึงดูดให้คนเข้ามาอ่านต่อ” แล้วหลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของข้อมูลข่าวสารที่จะถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อ่าน อ่านต่อไป
- สร้าง Story งามๆ
อย่างที่บอกว่าทุกวันนี้มีข้อมูลข่าวสารทางการตลาดมากมาย ดังนั้นการสร้างข้อมูลแบบเรียบๆ ไม่มีจุดเด่นย่อมถูกเมินเป็นธรรมดาอยู่แล้ว หนทางที่จะทำให้คนหันมาสนใจและเป็นกระแส Talk of the town ได้นั่นก็คือ การสร้างเรื่องราว (Story Telling) โดยเรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมานั้นควรเป็นเรื่องราวที่เข้าถึงทุกคนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น โฆษณาที่กำลังเป็นกระแสที่มีชื่อว่า “Unsung Hero” ซึ่งมีการเน้นเนื้อหาว่า “ชีวิตคนเราต้องการอะไรกันแน่” ผ่านทุกช่องทางบนโลกออนไลน์ ปรากฏว่าผลตอบรับเป็นไปตามคาด ผู้คนต่างพากันแชร์คลิปโฆษณาดังกล่าวพร้อมข้อความแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก บางคนแสดงความเห็นในเชิงตอบคำถามจากโฆษณา ซึ่งถือเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interaction)ระหว่างบริษัทและผู้บริโภคได้อย่างดี
ซึ่งเหมาะกับจริตคนไทยมากๆ ที่ชื่นชอบเรื่องราวดราม่า หรือ เรื่องราวที่กินใจ การโพสอะไรที่มีลักษณะดังกล่าวจึงช่วยดึงดูดใจให้คนกดไลค์ (และกดแชร์ต่อๆไป) ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เราอาจจะไม่ต้องโพสขายของให้ดราม่าเหมือนโฆษณาประกันชีวิตก็ได้ แต่เราอาจจะพักเบรคจากโพสขายของ มาโพสสิ่งที่น่าสนใจที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์แทน เมื่อมีคนแชร์ก็เป็นการโปรโมตเพจเราไปในตัว
ขายพ่วง
ร้านค้าบน facebook หลายร้าน อาจติดตั้ง App หรือ FB Tab ที่ทำให้ร้านดูมีลูกเล่น หรือ มีความน่าเชื่อถือ แต่หารู้ไม่ว่า ทั้ง App และ Tap เหล่านั้นไม่มีประโยชน์เลย เมื่อดูบนมือถือ เพราะมันจะไม่ถูกแสดงผลเลย! วิธีโพสที่ดีที่สุดคือ “รวมทุกอย่างไว้ในโพสต์เดียว” เพราะถ้าเราแยกจะทำให้ข้อมูลกระจัดกระจาย ข้อมูลจะไม่ประติดประต่อกัน ความสัมพันธ์ของเนื้อหาก็จะถูกแยก ทำให้ผู้อ่านสับสน อีกทั้งยังลำบากต่อการค้นหาด้วย การที่รวมลิ้งค์หรือข้อมูลที่จำเป็นทุกอย่างให้จบในโพสเดียว จะสะดวกสำหรับผู้ใช้มือถือที่ต้องการให้การทำธุรกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการดูรูปประกอบ การอ่านข้อมูลสินค้า และการติดต่อแม่ค้า ง่ายขึ้นเพียงนิ้วจิ้มแสดงตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เราขายของอะไร เราก็ควรที่จะมีภาพลักษณ์ของ “ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในสินค้านั้นๆ” และ “ความเป็นแม่ค้ามืออาชีพ” อยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น เราสามารถตอบปัญหาเกี่ยวกับตัวสินค้าได้เป็นอย่างดี อาจจะตั้งเป็นโพสรวมคำถาม โพสรีวิวเด่นๆจากลูกค้าที่มีภาพประกอบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่แค่ “หน้าบ้าน” อย่างโพสบนวอลเท่านั้นที่ต้องดูดี “หลังบ้าน – อย่างการตอบข้อความหลังไมค์” เราก็ต้องแสดงความใส่ใจลูกค้าด้วยไม่แพ้การตอบบนหน้าวอล หนำซ้ำผู้เขียนยังได้มีโอกาสสัมภาษณ์กับเจ้าของร้าน 100,000 ไลค์ 2-3 เพจ พบว่า จุดแข็งสำคัญที่ทำให้ลูกค้าติดคือ อย่าปล่อยให้ลูกค้ารอนาน ต้องคอยตอบ ต้องรายงานสถานะสินค้า อยู่เสมอ