พลังแห่งความเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง

in blog •  7 years ago 

สรุปสาระสำคัญ
คณะวิจัยจากสถาบันดนตรีแห่งเบอร์ลินเผยผลการวิจัยเคล็ดลับการเป็นอัจฉริยะ โดยการพยายามพากเพียรและฝึกฝนทำในสิ่งนั้นให้ได้อย่างน้อย 10,000 ชั่วโมง สมองจึงสามารถพัฒนาให้เป็นคนอัจฉริยะได้ โดยคณะวิจัยได้ทำการวิจัยจากกลุ่มนักเรียนไวโอลินของโรงเรียนที่ฝึกฝนมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี พบว่านักเรียนที่มีฝีมือระดับอัจฉริยะ ใช้เวลาในการฝึกฝน 10,000 ชั่วโมงขึ้นไป ในขณะที่กลุ่มนักเรียนที่มีฝีมือระดับดีรองลงมาใช้เวลาในการฝึกฝนได้เพียง 8000 ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่านักรียนในกลุ่มแรก ผลการวิจัยดังกล่าวจึงเป็นการค้นพบที่ตรงกับสิ่งที่ โทมัส เอวา เอดิสัน นักวิทยาศาสตร์ของโลกได้เคยกล่าวไว้ว่า “ความสำเร้จของการประดิษฐ์สิ่งต่างๆนั้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์มาจากแรงบันดาลใจ ส่วนอีก 99 เปอร์เซ็นต์มาจากการที่มีความเพียรพยายาม”

พ่อแม่ที่ปรารถนาให้ลูกเติบโตมาเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต คุณลักษณะแห่งความพากเพียรจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรปลูกฝังให้แก่ลูก โดยพ่อแม่สามารถสร้างพลังแห่งความพากเพียรให้เกิดขึ้นในชีวิตของลูกโดยเริ่มจาก
1.ฝึกลูกให้มองสายตาจับจ้องเป้าหมาย
2.ปลูกฝังทัศนคติมุมมองเชิงบวกแก่ลูก
3.ฝึกให้ลูกเรียนรู้จากความล้มเหลวอย่างมีสติปัญญา
4.เป็นแบบอย่างในความพยายามให้ลูกได้เห็น
5.ฝึกฝนให้ชีวิตลูกอยู่ในความพากเพียร

ข้อคิดที่ได้
ความอดทนพากเพียร ความพยายามฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอและทุ่มเทกับการกระทำในสิ่งนั้น เป็นลักษณะชีวิตสำคัญที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตรงข้ามกับบุคคลที่ประสบแต่ความล้มเหลว เนื่องจากเขาไม่มีความอดทน พากเพียร ขาดความพยายามในการกระทำสิ่งนั้นๆ

การนำข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กระตุ้นให้ตัวเองฝึกฝนชีวิตแห่งความพากเพียร ขยัน อดทน และหมั่นฝึกซ้อมในสิ่งที่ตัวเองชอบ แม้ว่าในความพยายามจะต้องประสบกับอุปสรรคมากมายแค่ไหน และหากแม้วันนี้จะต้องเหนื่อยยากลำบากแค่ไหน แต่เมื่อไหร่ที่ถึงเส้นชัย ความภาคภุมิใจจะเกิดขึ้นพร้อมกับความสุขที่ได้ประสบความสำเร็จ

ข้อความที่ประทับใจ/ข้อคิดเห็นของนักเรียน
คนบางคนอาจมีความสามารถมาก มีพรสวรรค์ที่ยิ่งใหญ่ มีศักยภาพซ่อนอยู่มากมาย แต่ทว่าไปเขาไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่ควร เนื่องจากขาดความอดทนพากเพียร เมื่อเผชิญกับอุปสรรคหรือปัญหาที่ยากลำบาก มักถอยหนี เลิกราทันทีโดยไม่ทันที่จะพัฒนาหรือแสดงศักยภาพที่มีอยู่เพื่อก้าวไปสุ่ความสำเร็จ

บันทึกการอ่าน
ประเภทของสื่อ คือ บทความ
ครั้งที่ 2 วันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2553

ผู้แต่ง ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
สำนักพิมพ์ พิมพ์ดี บจก. ปีที่พิมพ์ 2534

Authors get paid when people like you upvote their post.
If you enjoyed what you read here, create your account today and start earning FREE STEEM!