พวงมาลัยดอกไม้สด ดอกไม้ประดิษฐ์ หรือแม้แต่เครื่องแขวนแบบไทย เป็นงานประดิษฐ์แบบหัตถศิลป์จากสมัยโบราณที่ยังคงสืบทอด และ อนุรักษ์ไว้ให้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าการ ร้อยมาลัย หรือ จัดดอกไม้ แบบไทย จะไม่ได้รับความนิยมทั่วไป แต่ก็ยังสามารถพบเห็นได้ตามแหล่งอนุรักษ์ความเป็นไทย รวมไปถึงในศาสนสถานบ้าง โอกาสพิเศษ และตามพิธีมงคลต่างๆ ที่ยังคงใช้ดอกไม้ในการตกแต่งสถานที่ และประกอบพิธีการตามแบบประเพณี เครื่องแขวนดอกไม้สดของไทยแต่ละแบบแต่ละพวงนั้น จะประกอบขึ้นด้วยส่วนต่างๆ หลายส่วนที่ประดิษฐ์โดยวิธีเย็บบ้าง ร้อยกรองบ้าง ปัก หรือติดบ้างแล้วแต่ขนาด ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้มีชื่อเรียกต่างกัน และก่อนที่เราจะ เรียนร้อยมาลัย หรือ เรียนจัดดอกไม้ เพื่อใช้ประดิษฐ์เครื่องแขวนแต่ละแบบ ควรจะเรียนรู้วิธีการทำแต่ละส่วนให้เป็นก่อนโดยเรียนจากคุณครูหรือผู้ที่สามารถ สอนดอกไม้ ให้ท่านได้ก่อนจะไปถึงขั้นตอนของการประกอบ หรือแต่งตัวในภายหลัง ส่วนประกอบของเครื่องแขวนไทย ประกอบไปด้วย ลำตัว และ เครื่องแต่งตัว โดยในส่วนของลำตัวนั้น จะมีแบบที่เรียกว่า โครง หรือ เป็นแบบตาข่าย และในส่วนของเครื่องแต่งตัวนั้น มีเครื่องแต่งตัวอยู่ 7 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ แบบต่างๆ, เส้น, เฟื่อง, ดอกทัดหู, แบบพู่กัน, อุบะ, และ มาลัย โครง เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดรูปร่าง หรือ รูปทรงของเครื่องแขวน เราจึงเรียกส่วนนี้ว่าเป็น ลำตัว และอีกส่วนหนึ่งของลำตัว คือ ตาข่าย ซึ่งในที่นี้หมายถึงตาข่ายดอกไม้ คือการนำดอกไม้มาร้อยสอด สานกันเป็นตาข่ายลวดลายต่างๆ กันที่มีมาแต่โบราณ มี 11 ลายได้แก่ 1.ลายเกล็ด, 2.ลายพระจันทร์ครึ่งซีก, 3.ลายสี่ก้านสี่ดอก, 4.ลายกระเบื้อง, 5.ลายแก้วชิงดวง, 6.ลายดอกดาวกระจาย, 7.ลายอกแมลงมุม, 8.ลายสามก้านสามดอก, 9.ลายหกก้านหกดอก, 10.ลายดาวล้อมเดือน, 11.ลายวิมานแปลง อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมามีการแปลงแบบลายต่อจากลายเดิมอีกหลายอย่าง อาทิ ลายเพื่อนแก้ว, ลายดาวใกล้เดือน, ลายกำแพงแก้ว, ลายกำแพงเพชร ประโยชน์ในการมีตาข่าย ได้แก่ ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการหุ้มโครงคล้ายผืนผ้าโปร่งคลุมโครงดอกไม้คลุมไตรโครงโคมไฟ หรือพวงดอกไม้เครื่องแขวนของไทย ทำหน้าที่เป็นลำตัวที่ห่มผ้าแพรโปร่งลายต่างๆ สำหรับนำไปแต่งตัวด้วยเครื่องประดับอื่นๆ เช่น กลิ่นคว่ำ ระย้าน้อย ระย้าใหญ่ โคมจีน โคมไฟต่างๆ ฯลฯ อีกทั้งยังใช้เป็นผืนตาข่ายที่แต่งตัวสวยงามก็ได้ ใช้ได้หลายแบบเช่น ผืนตาข่ายคลุมไตร ผืนผ้าทิพย์ ผ้าชายธง ตาข่ายหน้าช้าง กลิ่นจระเข้ กลิ่นจีน เป็นต้น และที่ลืมมิได้ ตาข่ายนั้นสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการตกแต่งแบบเฟื่องระบายได้อีกเช่นกัน หากท่านต้องการศึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้ติดตามได้ที่โรงเรียนบุหงาส่าหรี เปิดทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ หรือ ติดตามเราเพื่อรับข้อมูลต่างๆได้ที่ https://www.facebook.com/bungasarifloristschool/ ขอบคุณค่ะ
ส่วนประกอบของเครื่องแขวน
6 years ago by webseofaqs (25)