พาชมพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ (Traditional Houses Museum) Ep.2

in history •  7 years ago 

ย้อนกลับไปเมื่อ 13 ปีที่ผ่านมา สำหนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 โดยแต่เดิมนั้นเป็นเพียงโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลป์วัฒนธรรมจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 มีวัตถุประถเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นรากฐานสำคัญของชาติ

เรือนกาแล (Kala House)

  • เรือนกาแล (เรือนอุ้ยผัด) สร้างเมื้อประมาณ พ.ศ. 2460 เดิมตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เรือนหลังนี้มีลักษณะเด่นของเรือนกาแล คือ มียนต์ติดบริเวณด้านบนของประตูห้องนอน เพื่อทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์คอยป้องกันและขับไล่อันตรายต่างๆ จากภายนอก

6B8C64BD-A759-4A90-A623-A486CE2CE8FF.jpeg

D42F3842-3173-4C24-8B44-A9E62A00F00D.jpeg

E1D21D5E-A8ED-44E5-83AB-D0B2EE87C44C.jpeg

8B326FB0-3C6C-447F-8D59-0A86FCC76937.jpeg

เรือนพญาวงศ์ (Phaya Wong House)

  • เป็นเรือนไม้ใต้สูงหลังคาทรงหน้าจั่ว มีลักษณะเด่นคือ “กาแล” ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความเป็นศิริมงคล ลักษณะเป็นไม้แกะสลักยื่นเลยจากปั้มลมไปไขว้กันที่ยอดจั่วเรือน เดิมเป้นของพญาวงศ์ อยู่ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2540 ลูกหลานของพญาวงศ์ได้สืบทอดบ้านหลังนี้มาราว 3 รุ่น

6AC61AF7-F1DC-4653-B876-D9A440B79B7E.jpeg

E4C22078-2C55-4109-A59C-B6A5D440F8BD.jpeg

6095E8E9-4FCA-408C-B94A-78BAF882D6F9.jpeg

5C8A11B8-97A4-46B2-AAC1-84E5BC876812.jpeg

F074C40A-CA52-4775-AE96-56D47EC508F2.jpeg

เรือนพื้นบ้านล้านนา อุ้ยแก้ว (Ui Kaew House)

  • เรือนพื้นบ้านล้านนา เดิมเป็นของอุ้ยอิ่นและอุ้ยแก้ว ธาระปัญญา ตั้งอยู่ที่บ้านสันต๊กโต (สันติธรรม) แจ่งหัวลิน ใกล้ๆ ถนนหัวแก้วอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นรุปแบบเรือนของคนที่อาศัยใกล้เวียงเชียงใหม่ในยุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะการจัดพื้นที่ยังเป็นแบบบ้านชนบทแต่ทำฝาและหน้าต่างประตูแบบใหม่

B6F38A6C-91D4-4D61-9177-CEA4DF2ACF9E.jpeg

46175CE0-3CA1-4CE4-9D87-2521C6EC47E6.jpeg

D3344ABC-4C79-4950-B65B-31CF31C0790B.jpeg

18ECF506-2B51-4257-93C6-262E344673B0.jpeg

เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด) (Tai lae House)

  • เรือนไทลื้อ เดิมเป็นของอุ้ยตุด ตั้งอยู่บ้านเมืองลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2460 เป็นเรือนไม้ขนาดกลาง มีลักษณะสองหลังหน้าเปียง ด้านตะวันออกเป็นเรือนนอนโล่งกว้าง ด้านตะวกตกเป็นเรือนครัว ระหว่างชายคาของเรือนทั้งสองเชื่อมต่อกันเป็นรางน้ำฝนเรียกว่า “ฮ่องลิน” หลังคามุงเป็นเกล็ด

DEF7E92A-B6FC-4BD4-A4EB-B65363C3D67A.jpeg

75C2C415-0FBD-44E8-8CE3-E48E5E589230.jpeg

DB867939-71A4-4339-83AA-1E97756D2F6F.jpeg

09DE1E4B-FDDD-44AB-8474-32DCE54F540A.jpeg

เรือนทรงปั้นหยา (หลวงอนุสารสุนทร)

  • เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่สองชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ดินเผา ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาเหลี่ยมซ้อนกันอย่างลงตัวผสมผสานกับหลังคาจั่ว ชั้นบนของตัวเรือนมีระเบียงทางเดินอยู่ด้านหน้าโถงใหญ่จนถึงด้านหลังบ้าน

1BA57637-7F50-4079-B242-C376E334C83A.jpeg

55C007F1-BEE1-40E4-A5FD-1BBB9A70AD1F.jpeg

6228654A-B965-4A1A-BDC0-9B778352E3F3.jpeg

C7EAEF5E-1A5B-48D9-A9F8-1F51A8D48B57.jpeg

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จะไปพักผ่อนที่ไหนในวันหยุด เบนว่าที่นี่เป็นที่นึงที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนชมธรรมชาติ ศิลปะล้านนา ที่นี่ถ้ามาในช่วงฤดูฝน จะสวยมากค่ะ บรรยากาศร่มรื่น

D4DC9D75-101D-4ED4-98E1-C66E28BF4955.jpeg

ขอบคุณสำหรับโหวตเป็นกำลังใจนะคะ
Thank for support.
🙏🙏🙏🙏

Authors get paid when people like you upvote their post.
If you enjoyed what you read here, create your account today and start earning FREE STEEM!
Sort Order:  

สถาปัตกรรมพื้นถิ่นนี่ช่างมีเสน่ห์งดงามจริงๆนะคะ :-)

ใช่ค่ะ คนสมัยก่อนก่อนเก่งมาก มีทั้งฝีมือ ทั้งความคิดสร้างสรรค์ ถ้าในสมัยนี้คงหายากแล้ว

บ้านโบราณสวยมากครับ🏥🏠

ขอบคุณค่ะ

สวยคะ มีความคล้ายบ้านเราเมื่อก่อนเลย

สถาปัตยกรรมล้านนา พอมาอยู่ในปัจจุบันเป็นสิ่งล้ำค่ามากเลยค่ะ

Congratulations! This post has been upvoted from the communal account, @minnowsupport, by supavinee from the Minnow Support Project. It's a witness project run by aggroed, ausbitbank, teamsteem, theprophet0, someguy123, neoxian, followbtcnews, and netuoso. The goal is to help Steemit grow by supporting Minnows. Please find us at the Peace, Abundance, and Liberty Network (PALnet) Discord Channel. It's a completely public and open space to all members of the Steemit community who voluntarily choose to be there.

If you would like to delegate to the Minnow Support Project you can do so by clicking on the following links: 50SP, 100SP, 250SP, 500SP, 1000SP, 5000SP.
Be sure to leave at least 50SP undelegated on your account.