สิ่งที่พึงพิจารณาสำหรับงานต่อเติมข้างบ้านนั้น เป็นงานที่ต้องใช้ประสบการณ์ ความชำนาญ เทคนิคพิเศษ เพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จตามที่กำหนด หรือผนังห้องที่ต่อเติมด้านข้างบ้านดังนี้
ต่อเติมข้างบ้าน
- คอนกรีตของโครงสร้างใต้ดิน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนพื้นหรือผนังต่อเติมข้างบ้าน ทั้งหมดต้องผสมน้ำยากันซึมเสมอ
- การเทคอนกรีตต้องมีแผนการที่ดีและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะทุกรอยต่อที่หยุดเทคอนกรีตจะต้องมีระบบกันซึมที่รอยต่อนั้น เช่น water stop เป็นต้น มิฉะนั้นรั่วซึมแน่นอน
- ก่อนเทพื้นคอนกรีต จะต้องมีลีนคอนกรีตหนา 10 ซม. ก่อน เพื่อการทำงานที่สะดวก สะอาด และช่วยลดความเร็วในการซึมผ่านของน้ำได้อีกส่วนหนึ่ง หรืออาจเพิ่ม water proof membrane ด้วยก็จะเป็นความมั่นใจในการป้องกันการรั่วซึมได้ดีมากขึ้น
- ต่อเติมข้างบ้านผนังด้านที่สัมผัสดิน และน้ำใต้ดินนั้น จะต้องทำระบบกันซึมที่ภายนอกให้ดี เช่น การติดตั้งแผ่นเมมเบรน หรือทาเทอร์โรชีล เป็นต้น เพื่อป้องกันการซึมจากด้านข้าง
- ความหนาของโครงสร้างคอนกรีตพื้น และผนังต่อเติมข้างบ้านก็มีส่วนช่วยให้น้ำซึมผ่านได้ยากมากขึ้น
- โครงสร้างส่วนใดที่เทคอนกรีตแล้ว ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบ โดยการรื้อถอนบางส่วนที่เทคอนกรีตแล้วเสร็จ เพื่อการต่อเติมขยายพื้นที่เพิ่ม เพราะการรั่วซึมอาจตามมาได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นจะทำอะไรคิดให้ดี ค่าใช้จ่ายสูงมากครับ
การออกแบบฐานรากของต่อเติมข้างบ้าน หรือการกำหนดแหน่งของอาคารลงในพื้นที่ ข้อมูลที่ส่วนใหญ่จะทำกันก็คือการเจาะสำรวจดิน แต่ถ้าเป็นไปได้ควรมีข้อมูลชิ้นอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น เพื่อดูสภาพดั้งเดิมของพื้นที่ บางทีบริเวณที่จะกำหนดสร้างอาคาร อาจจะเคยเป็นร่องน้ำลึกเก่า ถ้าหากทำการก่อสร้างไปโดยที่ไม่รู้แล้วล่ะก็ อาคารหลังนั้นเมื่อสร้างเสร็จแล้ว อาจเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงมาก เพราะเสาเข็มหรือฐานราก หลาย ๆ กลุ่ม อาจจะนั่งอยู่ในร่องน้ำลึกนั้น ซึ่งจะรับน้ำหนักได้น้อยลง และเกิดการทรุดในที่สุด
การเทคอนกรีตที่มีความหนามาก ๆ เช่น ฐานรากขนาดใหญ่ หนามาก ๆ ตรงกลางของคอนกรีตกับผิวคอนกรีต จะต้องมีอุณหภูมิที่ต่างกันไม่ควรเกินประมาณ 25 องศาเซลเซียส มิฉะนั้นอาจเกิดการแตกร้าวเนื่องจากผลต่างของอุณหภูมิได้ ทางแก้ไขพอที่จะยกตัวอย่างได้ดังนี้
- ทำการเดินท่อน้ำชนิดเหล็ก ช่วงบริเวณตรงกลางความหนา เมื่อเทคอนกรีตแล้วให้ปล่อยน้ำวิ่งผ่านช่วยลดอุณหภูมิได้
- เมื่อเทเสร็จใช้ทรายเกลี่ยแล้วใช้ผ้าพลาสติกคลุม เพื่อรักษาความชื้นและความร้อนไว้ ไม่ให้มีความต่างเกิน 25 องศาเซลเซียส
- ทำการเทคอนกรีตทีละชั้น หลาย ๆ ชั้น เพื่อป้องกันความต่างของอุณหภูมิ ดังนี้เป็นต้น
ในเรื่องของการต่อเติมข้างบ้านต้องคำนึงถึงปูนซีเมนต์ทีเลือกใช้ ท่านรู้ถึงการใช้ปูนขนาดไหน ปัญหาที่เกิดกันอยู่ทุกวันนี้ เพราะคนทั่วไปไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องปูนซีเมนต์ดีเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะบางคนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือบางคนเห็นคนอื่นใช้ก็ใช้ตามบ้าง ผิดถูกไม่รู้ บ้านมีปัญหาก็สูญเสียเป็นแถบ ๆ ตัวที่ยิ่งหนักใจคือ บ้านจัดสรรบางที่ประหยัดเกินไป หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ไม่ทราบ น่ากลัวจริงๆ เอาล่ะวัสดุปูนซีเมนต์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้กันก็มีอยู่ 2 ประเภท (จะไม่กล่าวถึงปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 2 ถึงประเภทที่ 5 ในที่นี้)
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ใช้สำหรับงานโครงสร้างของอาคาร ซึ่งจะให้การรับกำลังสูง มีความแข็งแรงสูง การออกแบบโดยทั่วไปจะใช้พื้นฐานกำลังของปูนประเภทปอร์ตแลนด์นี้เท่านั้น (เช่น ปูนตราทีพีไอสีแดง ตราพญานาคสีเขียว ตราเพชรเม็ดเขื่อง ตราช้าง เป็นต้น)
- ปูนซีเมนต์ผสมหรือซิลิก้าซีเมนต์ มีคุณสมบัติยืดหดตัวน้อย เหมาะสำหรับงานก่ออิฐ ฉาบปูน และงานตกแต่งทั้งหลาย มีการรับกำลังที่ไม่สูงนักระยะเวลาที่ใช้ถอดแบบต่าง ๆ ก็ใช้เวลามากกว่า แต่สามารถใช้สร้างบ้านได้ แต่ไม่ควรเกิน 2 ชั้น ทั้งนี้ วิศวกรต้องเป็นผู้กำหนดเท่านั้นว่า เมื่อใช้ปูนชนิดนี้ทำโครงสร้าง ควรเสริมเหล็กขนาดใด ก่อสร้างอย่างไรถอดแบบอย่างไร (เช่น ปูนตราทีพีไอเขียว ตรางูเห่า ตรานกอินทรีย์ตราเสือเป็นต้น) ก็ขอให้เลือกใช้กันให้ถูกต้องนะครับเอาแต่ถูกเงิน ระวังบ้านแตกนะครับ
อ้างอิง
1. เนื้อหา "Mr.Handyman ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่ดี... ให้คุณ"
2. ต่อเติมครัวหลังบ้าน https://www.sripechconstruction.com/
3. https://www.bigbang.co.th/Web-Design บริการรับทําเว็บไซต์ก่อสร้าง
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ชุมชนของการแบ่งปันครับ ขอให้สนุก
Downvoting a post can decrease pending rewards and make it less visible. Common reasons:
Submit
ยินดีต้อนรับสู่ชุมชนไทยครับ
กดติดตาม @steemthai เพื่อรับข่าวสารและความรู้
Downvoting a post can decrease pending rewards and make it less visible. Common reasons:
Submit