การวิ่งนั้น ถือว่าเป็นกีฬาและการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมมาก ไม่ว่าจะเป็นใครก็วิ่งได้ทั้งนั้น และถือว่าเป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมาก แต่ถึงยังไง การวิ่งก็ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีการบาดเจ็บในระหว่างการออกกำลังกายได้ ไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่น หรือว่ามืออาชีพก็ตาม ควรที่จะศึกษาเรื่องนี้เอาไว้ เพื่อที่จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเกิดขึ้น ในขณะที่กำลังวิ่งออกกำลังกายนั่นเอง
การบาดเจ็บที่บริเวณเข่าด้านนอก การบาดเจ็บนี้เกิดจากการเสียดสีของแถบเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา ที่อยู่ด้านข้างกับปุ่มกระดูก เมื่อเวลาที่นักวิ่งกำลังออกแรงเร่งความเร็วในการวิ่งในเวลาสั้นๆ อาจจะมีการเกิดขึ้นได้กับคนที่ยืดกล้ามเนื้อก่อนวิ่งไม่เพียงพอ หรืออาจจะเป็นไปได้ในกรณีที่ข้ามระยะทางจาก 5 กิโลเมตรเป็น 20 กิโลเมตร สำหรับคนที่ฝึกวิ่งน้อยเกินไปนั่นเอง ส่วนวิธีป้องกัน ให้เราฝึกวิ่งให้มากกว่า 12 ชั่วโมง ถ้าหากต้องการวิ่งให้ระยะทางมากขึ้น อาจจะให้มีการทำกายบริหารด้วยการนอนหงาย แล้วก็งอเข่าพับไปด้านข้าง และก่อนที่จะวิ่งอย่าลืมยืดกล้ามเนื้อก่อนด้วย
กระดูกหักล้า ถือว่าเป็นอาการที่พบบ่อยมากสำหรับคนที่เป็นนักวิ่งมาราธอน เพราะว่าอาการนี้เกิดขึ้นจากการฝึกซ้อมอย่างหนัก และถือว่าเป็นเวลาที่ยาวนานที่อาจจะทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนล้า จนทำให้ไม่สามารถที่จะรับกับแรงกระแทกได้เท่าเดิมนั่นเอง จึงเป็นสาเหตุทำให้กระดูกนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกที่มารับ และแรงกระแทกที่เกิดขึ้นได้มากเท่าเดิมนั่นเอง จึงมีอาการเกิดการแตกหักเล็กๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างของกระดูกด้วย บริเวณที่สามารถพบอาการลักษณะนี้ได้เป็นประจำก็คือ บริเวณของกระดูกหรือข้อเข่าจะมีอาการปวด แบบลักษณะเป็นๆหายๆ คือถ้าหากว่า หยุดวิ่งก็จะหายปวด แต่ถ้าหากเริ่มต้นวิ่งอีกพอเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งก็จะมีอาการปวดขึ้นมาอีกนั่นเอง ถ้าหากว่ามีการเอกซเรย์เพื่อที่จะดูลักษณะของกระดูกนั้น บางทีก็อาจจะไม่เห็นส่วนที่แตกหัก เพราะว่า การแตกหักลักษณะนี้มันมีขนาดเล็กมากนั่นเอง สำหรับวิธีรักษาก็ให้นักวิ่งนั้นพักจนกว่าจะหายเจ็บจริงๆ โดยต้องให้เวลาในการรักษาตัวเอง คือกระดูกจะทำการรักษาตัวเองของมันเองใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน หรืออาจจะใช้เวลานานกว่านั้นจนกว่าจะแน่ใจได้ว่าสามารถกลับมาวิ่งได้โดยที่ไม่มีอาการเจ็บปวดอีกนั่นเอง เพราะว่าถ้าหากวิ่งไปเรื่อยๆ โดยที่อาการยังไม่หายดีนั้น จะส่งผลให้กระดูกมีรอยแตกมากขึ้นกว่าเดิม และจะมีอันตรายมากกว่าเดิมนั่นเอง
การออกกำลังกายด้วยการวิ่ง อาจจะมีอาการบาดเจ็บจากอุ้งเท้าที่แตกต่างกันก็เป็นไปได้เช่นกัน โดยที่แต่ละคนนั้น จะมีอุ้งเท้าที่ไม่เหมือนกันเลยสักทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีอุ้งเท้าสูงก็มักจะพบอาการเอ็นร้อยหวายตึงกว่าคนที่มีอุ้งเท้าต่ำ สำหรับคนที่มีทางแบนก็จะมีอาการปวดบริเวณอุ้งเท้าเพราะว่ามีน้ำหนักลงที่ฝ่าเท้าด้านในมากกว่าปกตินั่นเอง เพราะเหตุนี้นักวิ่งจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกสวมรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าเหมาะสมกับลักษณะทางของตนเอง เพื่อเป็นการป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดกับอุ้งเท้าของนักเรียนเอง
กล้ามเนื้อสลายจากการวิ่ง สำหรับคนที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นประจำหรือว่าคนที่วิ่งในระยะทางไกลๆ นั้น อาจจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการภาวะของกล้ามเนื้อสลายที่เกิดจากการวิ่ง โดยจะมีการตรวจเลือดแล้วพบเอนไซม์กล้ามเนื้อที่สูงกว่าปกติ โดยหากนักวิ่งคนไหนที่อยู่ในสภาวะนี้และรักษาอาการไว้ไม่ทันอาจจะเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ส่งผลให้มีอาการภาวะไตวาย หรือถ้าร้ายแรงก็อาจจะเสียชีวิตได้ วิธีสังเกตว่าตัวเราเองนั้นมีภาวะของกล้ามเนื้อสลายที่เกิดจากการออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือไม่นั้น ให้สังเกตสีของปัสสาวะของเราว่ามีสีเข้มผิดปกติหรือเปล่า ถ้าหากว่าปัสสาวะของเรานั้นมีสีเข้มผิดปกติก็ให้ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น
โดยธรรมดาแล้วในการวิ่งนั้น อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นก็จะไม่ถึงขั้นรุนแรงที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่ยังไงก็ตาม อาจจะมีการพักโดยการหยุดวิ่งในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาการต่างๆก็จะดีขึ้นเอง สำหรับนักเรียนมืออาชีพนั้นอาจจะมีอาการเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บที่ร้ายแรงกว่าคนทั่วไป จนต้องเข้ารับการผ่าตัดก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาการต่างๆก็จะกลับมาเป็นปกติได้ในเวลาประมาณ 2-3 เดือน
Congratulations @sreeunlee! You have completed the following achievement on Steemit and have been rewarded with new badge(s) :
You published your First Post
You made your First Vote
You made your First Comment
You got a First Vote
You got a First Reply
Click on the badge to view your Board of Honor.
If you no longer want to receive notifications, reply to this comment with the word
STOP
Downvoting a post can decrease pending rewards and make it less visible. Common reasons:
Submit