เสียงกระซิบยามค่ำคืน จาก Didgeridoo : The Night Whisperers

in thai •  7 years ago  (edited)

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปี ที่แล้วสมัยที่เราหัดเล่น Harmonicaใหม่ๆ เราได้คิด Project ที่น่าสนใจขึ้นมาอันหนึ่ง ใช้ชื่อว่า “Harmonica BABE Project” คือ เราจะเชิญเพื่อนทั้งที่เป็นนักดนตรีตัวจริง และมือสมัครเล่นมาร่วมเล่นเพลง (Featuring) ด้วยกัน

การ Featuring ของเราจะมีความพิเศษตรงที่ว่า เราจะให้คนที่เราเชิญมาเล่นเลือกเครื่องดนตรีชิ้นไหนก็ได้ที่เขามีหรือที่เขาถนัด แล้วเล่นไปเรื่อยๆตามศรัทธาและอารมณ์ของเขา…เอาที่คุณสบายใจเลย…เราจะทำการอัดเสียงดนตรีที่เขาเล่น เสร็จแล้วหลังจากนั้น เราจะนำเสียงดนตรีที่ได้มาเป็นโครงสร้างหลักสำหรับการเล่น Harmonica ของเรา แล้วทำการมิกซ์เสียงใส่เข้าไป…พร้อมทั้งคิดคอนเซ็ปต์และตัดต่อวิดีโอใส่ลงไปด้วย…

เพลงที่เล่นกันส่วนใหญ่จะเป็นแนว Improvisation… สมัยก่อนที่เรายังไม่เคยแตะเครื่องดนตรี เราจะเรียกมันว่า “แนวมั่วๆเอา”… นี่ที่นั่งพิมพ์อยู่นี่ยังขำตัวเองไปด้วยเลยนะเนี่ย…:D แต่พอได้มีโอกาสมาลองเล่นเอง เราเลยเข้าใจว่าจริงๆแล้วมันมั่วไม่ได้ !!!…คุณต้องเข้าใจโครงสร้างของจังหวะดนตรี โน้ต และคีย์ รวมถึงอารมณ์ของเพลงได้ดีระดับหนึ่ง คุณถึงจะเล่นมันออกมาได้ไพเราะ…โดยเฉพาะเรื่องของอารมณ์เพลงสำคัญมาก…

ช่วงนั้นเรามีเวลาว่างคนข้างเยอะ… ตอนเช้าตื่นหกโมงเช้า…ออกไปหาที่ถ่าย footage มาเก็บไว้… ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็นัดเพื่อนเพื่ออัดคลิปเสียง…กลางคืนเสร็จงานประจำประมาณ 2-3 ทุ่ม ก็นั่งคิดคอนเซ็ปต์ มิกซ์เสียง และตัดต่อวีดีโอไปเรื่อย… บางคืนดึกถึงตีสองตีสาม… ก็เหนื่อยนะ แต่มันเพลินมากขอบอก… และที่สำคัญมันช่วยบำบัดอาการซึมเศร้าของเราได้อย่างดีเยี่ยมโดยไม่ต้องกินยาหาหมอ…

มีอยู่เพลงหนึ่งเราชอบมาก เพื่อนที่นักดนตรีรับเชิญเป็นคนอังกฤษเชื้อสายไอร์แลนด์ เขาเพิ่งหัดเล่นดนตรีเหมือนกัน … เครื่องดนตรีที่เขาเลือกเล่นเป็นเครื่องดนตรีเป่า ชื่อ Didgeridoo หลายๆคนอาจจะเคยเห็นมันมาบ้าง…แต่สำหรับบางคนที่ยังไม่รู้จัก…วันนี้เรามีความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเจ้าเครื่องดนตรีชนิดนี้มาเล่าให้ฟังค่ะ…

Didgeridoo อ่านว่า ดิเจอรีดู เป็นเครื่องดนตรีเป่าพื้นเมืองของชาวอะบอริจิน (Indigenous Australions) มีต้นกำเนิดมาจากทางภาคเหนือของออสเตรเลีย เครื่องดนตรีชนิดนี้มีการเล่นมาแล้วไม่ตำ่กว่า 1,500 ปี และยังคงเล่นกันอยู่อย่างแพร่หลายทั้งในออสเตรเลียเองและทั่วโลก ตัวเครื่องดนตรีทำจากไม้ มีรูกลวงตรงกลางตลอดแนวคล้ายท่อ เมื่อเป่าจะให้เสียงเบสแบบทุ้มตำ่ …

Didgeridoo เป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และความความยาวแตกต่างกันไป อยู่ที่ระหว่าง 1-3 เมตร…คือถ้ามีตัวใหญ่ๆ…จะไปเล่นที่ไหนที…คงต้องหาคนมาช่วยหามกันเลยทีเดียว…สำหรับ Didgeridoo ที่เพื่อนเราเล่น ขนาดความยาวประมาณ 1.2 เมตรค่ะ ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานที่นิยมกันโดยทั่วไป… ซึ่งลักษณะท่าทางการเล่น และรูปร่างหน้าตาเครื่องดนตรีก็เป็นประมาณนี้ค่ะ…

0B01BB16-28F9-4B05-8980-77C2437F68FB.jpeg

DECC26CE-ED12-4643-BAD2-03E6B5423278.jpeg

คนในภาพนี้ไม่ใช่เพื่อนเรานะ…อย่าเข้าใจผิด…เขาเป็นชาวอะบอริจินจริงๆ ยกภาพเขามาเพื่อประกอบความเข้าใจเฉยๆ…ภาพประกอบจากเวปนี้เลยค่ะ https://en.m.wikipedia.org/wiki/Didgeridoo#

ในส่วนของทำนองเพลง Harmonica เราแต่งเองเล่นเอง เป็นแบบ Diatonic Key G โดยใช้เสียงเป่า Didgeridoo ที่เพื่อนเล่นเป็นโครงสร้าง (…คนไม่รู้เรื่องเครื่องดนตรีไม่เป็นไรค่ะ…เดี๋ยวไว้มีโอกาสจะอธิบายเพิ่มเติมให้ฟังคราวต่อๆไป…อย่าเพิ่งหนีกันไปไหนนะคะ…)

คราวนี้เรามาลองฟังเสียงจริงๆของเจ้า Didgeridoo กันดู ว่าจะทุ้มตำ่หนักแน่นแค่ไหน…
เราตั้งชื่อเพลงนี้ว่า “The Night Whisperers” หรือ “เสียงกระซิบยามคำ่คืน” อะไรประมาณนั้น… ฟังดูออกแนวลึกลับหน่อยๆ…เพราะเรารู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เวลาได้ยินเสียงของมัน…เราไปฟังพร้อมๆกันเลยค่ะ…

ฟังแล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้างคะ…? ติชมหรือแบ่งปันความคิดเห็นกันได้เต็มที่เลยค่ะ…
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามกันเรื่อยมาจนถึงตอนนี้… แล้วพบกันใหม่กับเรื่องราวดีๆในครั้งต่อไปนะคะ… :-)
@bbkastro

Authors get paid when people like you upvote their post.
If you enjoyed what you read here, create your account today and start earning FREE STEEM!
Sort Order:  

@bbkastro ให้ทิพย์จับเครื่องดนตรีที่เรียกว่า Digeridoo คงล้มทับแน่ๆเลยค่ะ ใหญ่จริงๆ ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆที่นำมาแบ่งปันค่ะ

ตัวเล็กก็มีค่ะคุณ @nuanthip ความยาวเมตรนึง สนใจไหมคะ? :-)

เนื้อหาน่าสนใจมากครับ

ขอบคุณมากค่ะคุณ @adogcreation ถ้าชอบฝากติดตามกันไปเรื่อยๆเลยนะคะ แล้วจะหาเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟังอีกบ่อยๆ :-)

คิดไม่ถึงเลยว่า เสียงของ Didgeridoo และเสียงของ Harmonica จะเข้ากันได้อย่างลงตัวขนาดนี้

ก็หาอยู่นานพอสมควรค่ะ เพราะ Character เสียงของเครื่องดนตรีทั้งสองอันต่างกันมาก ก็ต้องอาศัยจินตนาการเอาจากอารมณ์ของเสียงเป็นหลัก