Steem Bluepaper📘ใจความสำคัญที่คุณควรรู้!

in thai •  7 years ago  (edited)

image

(source)

คุณหลายๆคนคงเคยเข้าไปอ่าน Whitepaper และ Bluepaper ของ Steem กันมาบ้างแล้ว แต่หลายๆคนก็คงยังไม่รู้ ว่า ผมหมายถึงอะไร

หากคุณเคยเข้าไปอ่าน Whitepaper มา สิ่งแรกที่คุณจะคิดถึงคือ ความยาวของข้อมูลนี้ ที่มีถึง 32 หน้า สิ่งที่สองที่คุณจะคิดถึงคือ เนื้อหาที่ซับซ้อนเข้าใจยาก ซึ่งก็ทำให้สงสัยขึ้นมาทันทีว่า มีใครอ่านจบใหม? และเมื่ออ่านจบแล้วเข้าใจทั้งหมดใหม?
ที่เราไม่เข้าใจทั้งหมด เป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ด้านทักษะภาษารึเปล่า?

เมื่อเกิดคำถามนี้ขึ้นมา ผมก็เลยไปอ่านและหาข้อมูลมาเยอะ ว่าเจ้าของภาษา เขาคิดอย่างไร? เขาเข้าใจทั้งหมดใหม? ขอตอบได้เลยว่าไม่ แม้แต่เจ้าของภาษา ก็ไม่เข้าใจเนื้อหาใน whitepaper ทั้งหมด ประสาอะไรกับเรา ทำให้มีบล็อกเกอร์หลายๆคน พยายามรวบรวม และจับใจความในนั้น มาเขียนเป็นภาษาบ้านๆ ให้สมาชิกคนอื่นได้อ่าน เช่น Whitepaper for dummies และอื่นๆอีกมากมาย แต่เมื่ออ่านแล้วก็ไม่กระจ่างขึ้นสักเท่าไหร่

อะไรคือ Whitepaper?

ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องเกี่ยวกับ Bluepaper เราควรทำความรู้จักกับ Whitepaper ซะก่อน ไวทย์เปเปอร์ เปรียบเทียบได้กับ คู่มือการใช้งานของ Steem ซึ่งจะระบุรายละเอียดต่างๆไว้อย่างครอบคลุม

เหมือนเวลาคุณไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามา คุณก็จะได้คู่มือการใช้งานมาด้วย ถามจริงๆว่า เล่มหนาๆ ที่คุณได้มานั้น มีกี่คนที่จะอ่านจริงๆ ซึ่งจะอ่านจริงๆก็ต่อเมื่อเกิดเหตุขัดข้องขึ้นมาเท่านั้น

ส่วนตัวแล้วผมอ่านได้ไม่ทั้งหมด โดยจะเลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่เราสนใจ และอยากรู้เท่านั้น จะไม่อ่านเลยก็กระไรอยู่ กลัวตกข่าว แต่พออ่านเยอะไป ก็ดันจำไม่ได้ซะอย่างนั้น หลายๆอย่างก็อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่
หากคุณอยากรู้ว่าผมหมายถึงอะไร ขอให้คุณลองเข้าไปอ่านดูเอง:

https://steem.io/SteemWhitePaper.pdf

image
(source)

อะไรคือ Bluepaper?

หากเปรียบเทียบไวทย์เปเปอร์เป็นเหมือนคู่มือการใช้งานแล้ว Bluepaper จะเทียบได้กับจดหมายถึงสาธารณะชน หรือ”จดหมายเหตุ” ซึ่งในบลูเปเปอร์ จะชี้แจงว่า Steem และ บล็อกเชน คืออะไร มีรากฐาน พื้นฐาน หลักการณ์ วัตถุประสงค์การก่อตั้งอย่างไร และก่อตั้งเพื่ออะไร และยังอธิบาย ถึงเรื่องการแบ่งปันด้านผลประโยชน์ และอุดมการณ์ของการจัดตั้งอีกด้วย

Bluepaper จะมีทั้งหมด 7 หน้าและมีข้อมูลที่ค่อนข้างกระชับ ทำให้อ่านแล้ว เข้าใจได้ง่ายกว่า ไวทย์เปเปอร์มาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณต้องรู้เรื่องและเข้าใจบลูเปเปอร์ ทั้งหมด ข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสำคัญกับชุมชนไทยเท่าไหร่ เพราะต่อให้อธิบายไป คุณก็คงไม่เข้าใจอยู่ดี แต่ก็มีใจความสำคัญที่คุณควรจะรู้อยู่หลายอย่าง

Proof Of Brain- Smart Social Token

สตีม-บล็อกเชน ก่อตั้งมาบนสองพื้นฐานหลักคือ proof of brain และ proof of steak ซึ่งก็จะสร้าง token ขึ้นมาจากการใช้งานของสมาชิก โดยจะสนับสนุนให้ผู้ใช้งานเขียนบล็อก และจะมีค่าตอบแทนให้เป็น สตีม-โทเคน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า หากมีสมาชิกเขียนบล็อกมากขึ้น พลังการผลิตของ สตีม-บล็อกเชน ก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

เรื่องเกี่ยวกับ Rewards Pool ที่มีคนเข้าใจผิดกันบ่อยๆ

Rewards Pool หรือผลตอบแทนที่เกิดจากการผลิตในบล็อกเชนนั้น จะมีการแบ่งผลตอบแทน ตามสัดส่วนดังนี้:

  • 75% จะกระจาย แบ่งให้กับผู้เขียนคอนเทนท์
  • 15% แบ่งปันให้กับผู้ถือหุ้น(token holders)
  • 10% จะแบ่งให้กับ Witness ซึ่งก็คือผู้ดูและระบบ การผลิตบล็อกนั่นเอง

อะไรคือ Witness แล้วทำไมต้องมี กลุ่มคนเหล่านี้?

เนื่องจาก Steem นั้นเป็นเทคโนโลยี blockchain ซึ่งไม่มีจุดศูนย์กลาง แต่จะกระจายกันไปทั่วโลก (decentralized) ทำให้ต้องมีผู้ดูแลระบบการผลิตบล็อก ซึ่งผู้ดูแลนี้เราจะเรียกว่า Witness ซึ่งในตอนนี้สตีมจะมีวิทเนสรวม 20 คน ส่วนใหญ่พวกเขาก็เป็นกลุ่มปลาวาฬใน steemit นั่นเอง
การจะเป็น witness ได้นั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องถือหุ้นมากอย่างเดียวก็เป็นได้ แต่ Witness ใน Steemit นั้นจะมาจากการเลือกตั้ง โดยสมาชิกทุกคนจะเป็นคนเลือก หากคุณยังไม่ได้เลือกตั้ง Witness และยังไม่รู้ว่าต้องทำยังไง บทความนี้ของคุณ @jakkris จะเป็นประโยชน์ต่อคุณ

https://steemit.com/thai/@jakkris/witness-vote-witness-thai-language-steemit-thai-community-20171214t194830981z

Bandwidth Rate Limiting for Fee-less Operations ทำไมต้องมี แบนด์วิธ?

คุณคงเจอปัญหานี้มาแล้ว พลังแบนด์วิธหมด ทำอะไรไม่ได้โพสต์ไม่ได้ จนทำให้ต้องเกิดคำถามนี้ขึ้นมา ว่าทำไมต้องจำกัดพลังกันด้วย?
สาเหตุที่ต้องจำกัดพลังก็เป็นเพราะว่า ผู้ดูแลการผลิตบล็อก(witness)นั้น มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การที่สตีมเป็น free platform ไม่เก็บค่าใช้งานกับสมาชิกนั้น ทำให้ไม่สามารถเพิ่มพลัง traffic ได้ เมื่อพลังการผลิตเท่าเดิม แต่มีผู้ใช้มากขึ้น ทำให้ต้องจำกัดการใช้งานของแต่ละคน คือจะให้คนที่มี Steem มากกว่า มีสิทธิ์ในการใช้งานก่อน

การแก้ปัญหา Bandwidth สำหรับมือใหม่ ที่ได้ผลรวดเร็วที่สุดมีอยู่ทางเดียว คือซื้อ Steem Tokens 50 หน่วย ซึ่งผมเองเคยทำมาแล้วด้วย เพราะไม่ชอบให้ใครมาจำกัดสิทธิเรา
หรือทางที่สองคือ คุณต้องใจเย็นๆ ขยันเขียนโพสต์ สะสม Steem จนมีพลังมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่ดีที่สุด

คุณสามารถเข้าไปดู Bandwidth ของคุณได้ที่ https://steemd.com/ แล้วตามด้วย@ชื่อบัญชีของคุณ

image
(source)

คุณสามารถเข้าไปอ่าน Steem Bluepaper ได้ที่:

https://steem.io/steem-bluepaper.pdf

image
(source)

คุณรู้หรือไม่ว่าชุมชนไทยนั้นก็มีกฏ ซึ่งจะคล้ายๆกับคู่มือการใช้งานอยู่ แรกๆผมเองก็เหมือนกับหลายๆคน ด้วยความไม่รู้ จึงทำผิดกฏอยู่บ้าง แต่เมื่อได้หาข้อมูลเพิ่ม ก็ทำให้เข้าใจมากขึ้น จึงคิดว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อคุณ และโดยเฉพาะมือใหม่ทั้งหลาย บอกได้เลยว่าต้องอ่าน
ทั้งสองโพสต์นี้ คุณ @ricko66 และคุณ @tookta เคยเขียนไว้:

https://steemit.com/thai/@ricko66/mxppc

https://steemit.com/thai/@tookta/10-steemit-10-rules-for-thai-people-in-steemit

ขอบคุณที่ติดตามกันมาเสมอ

หมู/ @impressable
image
image

Authors get paid when people like you upvote their post.
If you enjoyed what you read here, create your account today and start earning FREE STEEM!
Sort Order:  

เขียนดีมากคะเป็นประโยชน์มากคะ

ยินดีครับ

ข้อมูลละเอียดดีมากเลยค่ะ ตอนนี้ก็ยังอ่านไม่ครบ ขอรีสตีมไปอ่านต่อวันหลังนะคะ 555 ขอบคุณมากๆค่ะ ทีนำมาแบ่งปัน

ขอบคุณที่ติดตามครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ

ขอบคุณที่ติดตามครับ

เยี่ยมเลยครับคุณหมู เข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลยครับ

ขอบคุณครับคุณพิชาติ

ขอบคุณมากค่ะได้ข้อมูลและสะสมความรู้เพิ่มขึ้น

ไปพักผ่อนมาหรือครับ ไม่เห็นมาหลายวัน

ขอบคุณที่ทำการบ้านมาเผื่อเพื่อนๆนะคะ 😀

ขอบคุณครับคุณซี วันนี้มาดึกเลยนะครับ

ขอบคุณครับผม ว่าแต่จะเข้าไปอ่าน มีตั้งหลายหน้า ผมคงแปลไม่ไหวแน่ๆ ^^