น้องหมา น้องแมว ที่ญี่ปุ่นร้องยังไงกันนะ

in thai •  6 years ago  (edited)

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ชาว Steemit

วันก่อนคุยภาษาแมวๆ กับคุณ@siamcat แล้วนึกขึ้นได้ว่า จริงๆ เสียงร้องของสัตว์ในแต่ละประเทศก็เหมือนกัน แต่เสียงที่คนนำมาแปล กลับไม่เหมือนกัน งงไหมคะ จะยกตัวอย่างที่ชัดๆ ให้ดูนะคะ
..................................ภาษาไทย............................ภาษาญี่ปุ่น
ชื่อ.............................สุนัข (หมา)...........................犬「いぬ」(อิ นุ)
เสียงเห่า.....................โฮ่ง โฮ่ง...............................ワン ワン (วัง วัง)

คำว่า犬「いぬ」(อิ นุ) เปรียบเหมือนคำว่า “สุนัข” หรือ “หมา” ซึ่งคนญี่ปุ่นจะใช้คำนี้ต่อเมื่อพูดถึงสุนัขที่ไม่รู้จักชื่อ และไม่ได้มีอารมณ์ร่วมด้วย ประโยคที่ใช้จะดูมีความห่างเหินนิดหน่อย สื่อถึงเพียงแค่ต้องการพูดถึงเท่านั้น

IMG_2139.JPG

แต่เสียงเห่าของสุนัข ワン ワン (วัง วัง) สามารถนำมาเรียกแทนสุนัขได้ ในกรณีที่ไม่รู้จักชื่อ โดยการเติม ちゃん (จัง) ไปที่ด้านหลัง เป็น 「ワンちゃん」ดูน่าจะออกเสียงว่า “วังจัง” แต่ที่ฉันได้ยินคนญี่ปุ่นออกเสียงจะคล้ายๆ “ว่านจัง” มากกว่า ซึ่งคำนี้เปรียบเหมือนคำว่า “น้องหมา” ของไทยเรานี่เองค่ะ เป็นคำที่ใช้ต่อเมื่อพูดถึง น้องหมาที่เรามีความรู้สึกดีกับเขา การใช้ 「ワンちゃん」ทำให้ประโยคดูน่ารัก และนุ่มนวลขึ้น
ตัวอย่างของ 2 ประโยคเปรียบเทียบให้ดูนะคะ เช่น

あの...犬...はいくつですか。"สุนัขตัวนั้นอายุเท่าไหร่"

すっごくかわいい...ワンちゃん...だったなあ。"เป็นน้องหมาที่น่ารักมากเลยน้า....."

จะเห็นว่า ประโยคแรกที่ใช้ 犬นั้น จะเป็นเหมือนประโยคทั่วไป ไม่มีเรื่องของอารมณ์เข้ามาร่วมด้วย เหมือนเวลาเราพูดว่า “สุนัข (หมา) ตัวนั้น” นั่นแหละค่ะ ในขณะที่ ประโยคที่ 2 จะมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวด้วย เพราะผู้พูดเห็นว่า “น้องหมาตัวนี้น่ารัก จึงใช้คำว่า ワンちゃん

แต่ตัวด้านล่างนี้ เห็นน่ารักๆ อย่างนี้ ดุนะคะ ถ่ายรูปยากมากเพราะน้องกระโดดตลอดเลย กลัวเชือกขาดมาก!
IMG_9983.JPG

ลองมาดูเคส “แมว” กันบ้างค่ะ

.............................ภาษาไทย...........................ภาษาญี่ปุ่น
ชื่อ.........................แมว...................................猫「ねこ」(เน โกะ)
เสียงร้อง.................เมี๊ยว เมี๊ยว..........................ニャー ニャー (เนียะ เนียะ)

snpy_top.jpg
Image Source: youpouch

แมวจะคล้ายกับสุนัขเฉพาะประโยคแรก ซึ่งเป็นการพูดแบบทั่วไป โดยไม่มีอารมณ์ร่วม แมวนั้น ฉันไม่ค่อยเห็นคนญี่ปุ่นนำเสียงร้องมาเรียกเท่าไหร่ แต่ที่เห็นบ่อย คือ เติม ちゃん (จัง) ไปด้านหลังเลย เมื่อมีความรู้สึกกับแมวตัวนั้น เป็น 猫ちゃん (เนโกะจัง) จะทำให้ดูน่ารักขึ้นมาทันที คล้ายๆ กับที่เราเรียกว่า “น้องแมว” นั่นแหละค่ะ เช่น

その...猫...はとてもかわいい。"ลูกแมวตัวนั้นน่ารักจังเลย"

หลายคนอาจจะเคยทราบมาว่า
คำว่า “จัง” ちゃんใช้เรียกเด็กผู้หญิง หรือ ผู้หญิงที่อายุอ่อนกว่า (ห้ามใช้กับผู้หญิงที่อายุมากกว่า)
ส่วนคำว่า “คุง” くんจะใช้เรียกเด็กผู้ชาย หรือ ผู้ชายที่อายุอ่อนกว่า (ห้ามใช้กับผู้ชายที่อายุมากกว่า)

แต่ในกรณีของสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หรือ นก หากเรารู้เพศของสัตว์เหล่านั้น สามารถเรียกชื่อของเขาแล้วตามหลังด้วย “จัง” ちゃんหรือ “คุง” くんได้เลยค่ะ จะทำให้ดูสนิทสนมขึ้นมาทันที ซึ่งใช้เรียกได้ทั้งสัตว์เลี้ยงของเรา หรือ สัตว์เลี้ยงของเพื่อนเรา เช่น

สุนัขเพศผู้ ชื่อ “บิสกิต” สามารถเรียกว่า “บิสกิตคุง” ได้ หรือ
แมวเพศเมียชื่อ “มีมี่” สามารถเรียกว่า “มีมี่จัง” ได้ ซึ่งจะดูน่ารัก และแสดงถึงความเอ็นดูของผู้เรียกที่มีต่อสัตว์เหล่านั้นได้ด้วยค่ะ

นอกจากนี้ คำว่า "จัง" บางครั้งอาจใช้กับคนสนิทได้ด้วย เช่น ต่อท้ายชื่อคนรัก เป็นการแสดงถึงความสนิทสนมแบบคนพิเศษ ด้านบนฉันอาจบอกไว้ว่า "คุง" ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงเพศผู้ได้ด้วย แต่ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงของเรา สามารถใช้ "จัง" ได้เช่นกันค่ะ

และนี่คือลูกชายของฉันเอง เป็นสุนัขเพศผู้ ชื่อ หมูตอน ซึ่งฉันเคยเขียนเรื่องของเขาไว้แล้วใน "ผมชื่อ “หมูตอน” ครับ 「私の犬です」" ลองอ่านดูได้นะคะ ในบางครั้งฉันก็เรียกเขาว่า "หมูตอนจัง" 5555
IMG_2007.JPG

วันนี้ หมูตอนจัง ขอตัวไปนอนก่อนนะกั๊บ ワンワン (วัง วัง)

ขอบคุณสำหรับการติดตาม และเป็นกำลังใจให้นะคะ

私のブログを読んでくれてありがとうございました。

@katto

Authors get paid when people like you upvote their post.
If you enjoyed what you read here, create your account today and start earning FREE STEEM!
Sort Order:  

วัง เนียะ วัง เนียะ

ครั้งหน้าขอ เสียงลิง กับเสียง ปลาทองด้วยครับ

เอาเสียงลิงไปก่อนนะคะ
キーキー คีคี

ขอบคุณค่ะที่นำมาแชร์

ขอบคุณเช่นกันที่แวะมาอ่านนะคะ :)

เป็นภาษาที่น่ารักมากค่ะ

ใช่ค่ะ มีน่ารักอีกเยอะเลย
บางครั้งคุยกับเพื่อนแบบกึ่งๆ ทะเลาะ
เค้าพูดมาบางคำน่ารักมากจน เลิกทะเลาะ กลายเป็นขำความน่ารักของคำไปแทน