บันทึกอายุ 2,000 ปี บ่งชี้ถึงจำนวนลิงจมูกเชิดสีทองในอดีต [ 2,000 year old records indicate the number of golden snub-nosed monkey in the past. ]

in thai •  7 years ago 

  By  NGThai  - April 17, 2018  


  บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่บรรยายถึงลิงจมูกเชิดสีทองมีอายุถึง 2,200 ปี ภาพถ่ายโดย Jed Weingarten  


2,000 year old records indicate the number of golden snub-nosed monkey in the past

In the 11th century, scholar Lu Dian wrote down an encyclopedia of animals and plants he encountered. One of the species he describes is a monkey. "Golden tail feathers from the mountain in Sichuan Province". Its bone can be made into medicine. In such a note. And it is also suitable for carpeting or cushions.

The special monkey in Lu Dian's record is the Golden Monkey Monkey. It has a nice hairline. Bright blue face with small nostrils. Worthy of the Chinese Emperor. And it seems that such scholars will find it everywhere throughout the journey.

A thousand years later, the monkeys decided to look for these monkeys in China and compare their numbers to the number in the historical record. To show how the destruction of the human environment affects the population of the primer. The results of this study were published in Diversity and Distributions.

Thanks to the record of the Chinese people before doing systematically. In addition to the encyclopedia. The story of the Golden Monkey is also found in poetry, poetry and poetry. And not just monkeys, but also other elephants, gibbons and grasshoppers.

Although ancient records do not specify the exact number of monkeys of this species. But the record reveals that they are becoming increasingly rare. The earliest recorded mention of the Golden Nose Monkey occurred in the 3rd century BC. In the Encyclopedia of Er Ya, this monkey is described as a monkey. Other notes refer to habitats in the highlands and lowlands where they found it, both in eastern, central and southern China. But over time, many years. A record of the 1700s indicates that they are more difficult to find.

"Over the years, you've seen that their distribution has dropped. They eventually disappeared from the central and eastern regions of China, "said Paul Garber, a palliative scientist at the University of Illinois. This researcher said.


  บันทึกอายุ 2,000 ปี บ่งชี้ถึงจำนวนลิงจมูกเชิดสีทองในอดีต  

   ในศตวรรษที่ 11 นักวิชาการนาม Lu Dian จดบันทึกสารานุกรมเกี่ยวกับสรรพสัตว์และพรรณพืชที่เขาพบเจอเอาไว้ หนึ่งในสายพันธุ์ที่เขาบรรยายไว้คือลิงตัวหนึ่งที่มี “ขนหางฟูฟ่องสีทองจากภูเขาในมณฑลเสฉวน” กระดูกของมันสามารถนำมาทำยาได้ ในบันทึกกล่าวเช่นนั้น และขนของมันยังเหมาะที่จะนำมาทำพรมหรือหมอนอิงอีกด้วย 

เจ้าลิงพิเศษในบันทึกของ Lu Dian คือลิงจมูกเชิดสีทอง มันมีเส้นขนอันงดงดาม ใบหน้าสีฟ้าสดใสที่มีรูจมูกเชิดเล็กๆ คู่ควรกับจักรพรรดิจีนอย่างยิ่ง และดูเหมือนว่านักวิชาการคนดังกล่าวจะพบมันทุกที่ตลอดการเดินทาง 

พันปีต่อมา นักไพรเมตวิทยาตัดสินใจตามหาลิงเหล่านี้ในจีนและเปรียบเทียบจำนวนของพวกมันกับจำนวนในบันทึกทางประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อประชากรของไพรเมตอย่างไรบ้าง ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ถูกเผยแพร่ลงในวารสาร Diversity and Distributions 

ต้องขอบคุณการจดบันทึกของคนจีนสมัยก่อนที่ทำอย่างเป็นระบบ ซึ่งนอกเหนือจากในสารานุกรมแล้ว เรื่องราวของลิงจมูกเชิดสีทองยังถูกพบในพงศษาวดารและบทกวีอีกด้วย และไม่ใช่แค่ลิงสายพันธุ์นี้แต่ยังมีสัตว์อื่นๆ อย่าง ช้าง, ชะนีและตั๊กแตนด้วย 

แม้ว่าบันทึกโบราณจะไม่ได้ระบุจำนวนที่แน่นอนของลิงสายพันธุ์นี้ แต่จากบันทึกเผยให้เห็นว่าพวกมันเริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ บันทึกเก่าแก่ที่สุดที่อ้างถึงลิงจมูกเชิดสีทองเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์กาล ในสารานุกรม Er Ya บรรยายถึงลิงสายพันธุ์นี้ไว้ว่าเป็นลิงที่ “มีจมูกแปลกหางยาว” บันทึกอื่นๆ อ้างอิงถึงถิ่นอาศัยในที่ราบสูงและต่ำที่พวกเขาพบมันทั้งในภาคตะวันออก, กลางและใต้ของจีน แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี บันทึกจากคริสต์ศักราช 1700 ระบุว่าพวกมันหาตัวได้ยากยิ่งขึ้น 

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมาคุณจะเห็นเลยว่าจำนวนการกระจายตัวของพวกมันลดลงๆ จนในที่สุดพวกมันก็หายไปจากภูมิภาคกลาง ตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ของจีน” Paul Garber นักไพรเมตวิทยาจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยด์ ผู้ร่วมศึกษาวิจัยครั้งนี้กล่าว  


 สีขนอันโดดเด่นของลิงจมูกเชิดขนทองดึงดูดใจบรรดานักบันทึกโบราณ
ภาพถ่ายโดย Joel Sartore 


  ทุกวันนี้ในจีนมีสายพันธุ์ลิงจมูกเชิดสี่ชนิด พบได้ในเขตภูเขาอันห่างไกลทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ พวกมันมีกลุ่มประชากรขนาดเล็กและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ในลิงจมูกเชิดสีเทาเหลืออยู่ในป่าเพียงราว 800 ตัวเท่านั้น การเติบโตขึ้นของประชากรมนุษย์, การทำเกษตรกรรม, การล่าสัตว์ ตลอดจนตัดไม้ทำลายป่าเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อถิ่นอาศัยของบรรดาลิงจมูกเชิด และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประชากรของจีนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา นั่นหมายความว่าสัตว์บางสายพันธุ์มีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์ในอีก 50 ปีข้างหน้า หากยังไม่มีการดำเนินการบางอย่าง  


  “มีลิงใน 90 ประเทศทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่แล้วประเทศเหล่านี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพวกมันน้อย” Garber กล่าว “ในจีนเองสิ่งแวดล้อมก็ไม่ปกติแล้ว พวกเขาอยู่ในจุดที่ต้องทำอะไรสักอย่างก่อนที่จะเสียหายไปมากกว่านี้” สิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือลิงเหล่านี้คือการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติ รายงานจาก Zhao Xumao นักไพรเมตวิทยาจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีนในกรุงปักกิ่ง ปัจจุบันในจีนมีอุทยานแห่งชาติมากกว่า 38 แห่ง และเกือบทุกสายพันธุ์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์อาศัยอยู่ในสถานที่หล่านี้ และล่าสุดลิงจมูกเชิดสีดำ ที่อาศัยอยู่ใกล้กับชายแดนเมียนมาร์ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่รัฐบาลจีนต้องการที่จะปกป้องและอนุรักษ์ไว้ ในอุทยานแกรนด์ แคนยอน Nujiang ที่แผนแม่บทสำหรับการก่อตั้งเพิ่งจะได้รับการอนุมัติในปี 2016 ที่ผ่านมา เรื่อง Sophie Yeo  


 หากไม่มีการอนุรักษ์ บางสายพันธุ์ของลิงจมูกเชิดในจีนจะเผชิญกับการสูญพันธุ์ในอีก 50 ปีข้างหน้า
ภาพถ่ายโดย Jed Weingarten

By  NGThai 



Authors get paid when people like you upvote their post.
If you enjoyed what you read here, create your account today and start earning FREE STEEM!
Sort Order:  

Congratulations @nattapongph! You have completed some achievement on Steemit and have been rewarded with new badge(s) :

Award for the number of upvotes received

Click on any badge to view your own Board of Honor on SteemitBoard.
For more information about SteemitBoard, click here

If you no longer want to receive notifications, reply to this comment with the word STOP

Upvote this notification to help all Steemit users. Learn why here!